คู่มือนำเที่ยวของ Thamnita

Thamnita
คู่มือนำเที่ยวของ Thamnita

เที่ยว

สถานที่เด่นของจังหวัดนนทบุรี มีผู้คนมากมายเดินทางมาท่องเที่ยวและทำกิจกรรมต่างๆมากมายตลอดทั้งปี
อาคารหลังนี้สร้างขึ้นโดยกระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ.2453 และในระหว่างห้วงเวลา พ.ศ.2471 – 2535 ได้ถูกใช้เป็นศาลากลางของจังหวัดนนทบุรี ภายหลังเมื่อมีการย้ายที่ทำการศาลากลางไปยังศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีแห่งใหม่แล้ว จึงได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งวิทยาลัยมหาดไทยเรื่อยๆมาจนถึง พ.ศ.2551 หลังจากนั้น เทศบาลนครนนทบุรีได้ทำเรื่องขอจัดตั้งศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ณ ริมท่าน้ำนนท์เป็นพิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี จากอาคารแห่งประวัติศาสตร์กับบทบาทใหม่ “แหล่งเรียนรู้เพื่อสืบสานจิตวิญญาณแห่งเมืองนนท์” เพื่อแสดงประวัติศาสตร์และพัฒนาการของเมืองนนทบุรี นับจากอดีตกาลจวบจนถึงปัจจุบัน ลักษณะของอาคาร เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่ประยุกต์ให้เข้ากับภูมิอากาศเขตร้อน หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในสมัยก่อนตัวอาคารมีเนื้อที่รวม 2 ไร่ 2 งาน 51 ตารางวา เป็นอาคาร 2 ชั้นก่ออิฐถือปูน มี 7 หลัง วางผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบลานกว้าง (Quadrangle) เชื่อมต่อกันด้วยระเบียงทางเดินทำด้วยไม้ที่สร้างยื่นออกมารอบอาคาร ด้วยคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรจึงขึ้นทะเบียนอาคารหลังนี้เป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ.2524
10 lokal ang nagrerekomenda
Museum Of Nonthaburi
10 lokal ang nagrerekomenda
อาคารหลังนี้สร้างขึ้นโดยกระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ.2453 และในระหว่างห้วงเวลา พ.ศ.2471 – 2535 ได้ถูกใช้เป็นศาลากลางของจังหวัดนนทบุรี ภายหลังเมื่อมีการย้ายที่ทำการศาลากลางไปยังศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีแห่งใหม่แล้ว จึงได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งวิทยาลัยมหาดไทยเรื่อยๆมาจนถึง พ.ศ.2551 หลังจากนั้น เทศบาลนครนนทบุรีได้ทำเรื่องขอจัดตั้งศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ณ ริมท่าน้ำนนท์เป็นพิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี จากอาคารแห่งประวัติศาสตร์กับบทบาทใหม่ “แหล่งเรียนรู้เพื่อสืบสานจิตวิญญาณแห่งเมืองนนท์” เพื่อแสดงประวัติศาสตร์และพัฒนาการของเมืองนนทบุรี นับจากอดีตกาลจวบจนถึงปัจจุบัน ลักษณะของอาคาร เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่ประยุกต์ให้เข้ากับภูมิอากาศเขตร้อน หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในสมัยก่อนตัวอาคารมีเนื้อที่รวม 2 ไร่ 2 งาน 51 ตารางวา เป็นอาคาร 2 ชั้นก่ออิฐถือปูน มี 7 หลัง วางผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบลานกว้าง (Quadrangle) เชื่อมต่อกันด้วยระเบียงทางเดินทำด้วยไม้ที่สร้างยื่นออกมารอบอาคาร ด้วยคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรจึงขึ้นทะเบียนอาคารหลังนี้เป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ.2524
วัดสังฆทาน สอนปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐานทุกวัน แนวทางในการปฏิบัติแบบ สติปัฏฐาน 4 กำหนดอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน บรรยากาศร่มรื่น เงียบ สงบ ภายในวัดจัดตกแต่ง สวยงาม
6 lokal ang nagrerekomenda
Wat Sangkhathan
6 lokal ang nagrerekomenda
วัดสังฆทาน สอนปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐานทุกวัน แนวทางในการปฏิบัติแบบ สติปัฏฐาน 4 กำหนดอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน บรรยากาศร่มรื่น เงียบ สงบ ภายในวัดจัดตกแต่ง สวยงาม
วัดบัวขวัญ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้นมีเพียงสำนักสงฆ์กลางทุ่งนา เมื่อมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษามากขึ้น ก็เริ่มพัฒนามาเป็นวัด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2435 มีนามว่า "วัดสะแก" โดยมีพระครูปรีชาเฉลิมจากวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารเป็นผู้เริ่มสร้างวัด และเป็นเจ้าอาวาสในช่วงแรก พ.ศ. 2491 พระอธิการพยุง จัตตมโล จากวัดกำแพง ได้รับนิมนต์จากชาวบ้านให้มาเป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากการมรณภาพของอดีตเจ้าอาวาส จากนั้นจึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา กระทั่งมีผู้มีจิตศรัทธานามว่า นายบัว ฉุนเฉียว บริจาคที่ดินให้กับวัด ซึ่งในเวลาต่อมาจึงได้เปลี่ยนนามมาเป็น วัดบัวขวัญ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บริจาคที่ดิน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2506 โดยมีพระอธิการพยุง จัตตมโล เป็นเจ้าอาวาสถึงปี พ.ศ. 2520 และพระอธิการบุญช่วย ปุญญคุตโต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสถึงปี พ.ศ. 2535 พระมหาไสว สุขวโร (ป.ธ.4) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางแพรกเหนือ ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระโสภณสุตาลังการ" ถึงปัจจุบัน และได้พัฒนาวัดบัวขวัญทั้งในด้านถาวรวัตถุ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตลอดทั้งให้ความสำคัญด้านการศึกษาพระธรรม กระทั่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ 1 และยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับอุบาสกอุบาสิกาในทุกวันสำคัญ และให้ความสำคัญทางการศึกษาโดยเปิดเป็นสถานที่เรียน ก.ศ.น. อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนาและวันนักขัตฤกษ์เรื่อยมา พระอุโบสถจตุรมุขของวัดบัวขวัญฯ ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดยมี พระพุทธเมตตา (จำลองมาจากพระพุทธเมตตาที่ประดิษฐานในเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย) เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดบัวขวัญได้รับการพระราชทานพระบรมราชานุญาตสถาปนาเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
20 lokal ang nagrerekomenda
Wat Bua Khwan
1 หมู่ที่ 9 ซอย งามวงศ์วาน 23
20 lokal ang nagrerekomenda
วัดบัวขวัญ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้นมีเพียงสำนักสงฆ์กลางทุ่งนา เมื่อมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษามากขึ้น ก็เริ่มพัฒนามาเป็นวัด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2435 มีนามว่า "วัดสะแก" โดยมีพระครูปรีชาเฉลิมจากวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารเป็นผู้เริ่มสร้างวัด และเป็นเจ้าอาวาสในช่วงแรก พ.ศ. 2491 พระอธิการพยุง จัตตมโล จากวัดกำแพง ได้รับนิมนต์จากชาวบ้านให้มาเป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากการมรณภาพของอดีตเจ้าอาวาส จากนั้นจึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา กระทั่งมีผู้มีจิตศรัทธานามว่า นายบัว ฉุนเฉียว บริจาคที่ดินให้กับวัด ซึ่งในเวลาต่อมาจึงได้เปลี่ยนนามมาเป็น วัดบัวขวัญ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บริจาคที่ดิน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2506 โดยมีพระอธิการพยุง จัตตมโล เป็นเจ้าอาวาสถึงปี พ.ศ. 2520 และพระอธิการบุญช่วย ปุญญคุตโต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสถึงปี พ.ศ. 2535 พระมหาไสว สุขวโร (ป.ธ.4) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางแพรกเหนือ ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระโสภณสุตาลังการ" ถึงปัจจุบัน และได้พัฒนาวัดบัวขวัญทั้งในด้านถาวรวัตถุ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตลอดทั้งให้ความสำคัญด้านการศึกษาพระธรรม กระทั่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ 1 และยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับอุบาสกอุบาสิกาในทุกวันสำคัญ และให้ความสำคัญทางการศึกษาโดยเปิดเป็นสถานที่เรียน ก.ศ.น. อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนาและวันนักขัตฤกษ์เรื่อยมา พระอุโบสถจตุรมุขของวัดบัวขวัญฯ ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดยมี พระพุทธเมตตา (จำลองมาจากพระพุทธเมตตาที่ประดิษฐานในเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย) เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดบัวขวัญได้รับการพระราชทานพระบรมราชานุญาตสถาปนาเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
มูลเหตุแห่งการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติเริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นั้น พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีแห่งพระองค์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลา ไลยด้วย ต่อมาทรงพระราชดำริว่าบริเวณป้อมปราการ (ชื่อว่าป้อมทับทิม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี เป็นนิวาสถานเดิม (บ้าน) แห่งพระอัยกา(ตา) พระอัยกี(ยาย) ของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระราชชนนีพันปีหลวง สมควรที่จะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์ ด้วยเหตุนี้โปรดให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระ บรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดเฉลิมพระเกียรติ เมื่อ ปี พ.ศ. 2390 วัดเฉลิมพระเกียรติเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นเป็นวัดสุดท้ายในรัชกาลก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2394 การสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติน่าจะยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของ พระองค์ เพราะเมื่อพระองค์ใกล้จะเสด็จสรรรคต พระองค์ก็ยังตรัสถึงวัดต่างๆ ที่ยังสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ค้างไว้ว่า " ...ทุกวันนี้คิดสละห่วงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัด สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็ดี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทนุบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดิน มีอยู่ 40,000 ชั่ง ขอสัก 1,000 ชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วให้ช่วยบอกแก่เขาขอเงินรายนี้ให้ช่วยทนุบำรุง วัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้น เสียให้แล้วด้วย..." เมื่อเป็นเช่นนี้ วัดเฉลิมพระเกียรติที่ยังสร้างค้างอยู่น่าจะเป็นวัดหนึ่งที่พระองค์ทรง ห่วงใยด้วย ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว พระองค์ก็ทรงรับเป็นพระราชภาระในการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติจนเสร็จเรียบ ร้อย โดยโปรดให้พระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุญนาค) เป็นแม่กองการบูรณะจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2401 วัดเฉลิมพระเกียรติได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการ ศาสนา ในปี พ.ศ.2531 เป็นวัดอุทยานการศึกษากรมการศาสนา ปี พ.ศ.2538
6 lokal ang nagrerekomenda
Wat Chaloem Phrakiat Worawihan
Soi Wat Chaloem Phrakiat
6 lokal ang nagrerekomenda
มูลเหตุแห่งการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติเริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นั้น พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีแห่งพระองค์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลา ไลยด้วย ต่อมาทรงพระราชดำริว่าบริเวณป้อมปราการ (ชื่อว่าป้อมทับทิม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี เป็นนิวาสถานเดิม (บ้าน) แห่งพระอัยกา(ตา) พระอัยกี(ยาย) ของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระราชชนนีพันปีหลวง สมควรที่จะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์ ด้วยเหตุนี้โปรดให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระ บรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดเฉลิมพระเกียรติ เมื่อ ปี พ.ศ. 2390 วัดเฉลิมพระเกียรติเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นเป็นวัดสุดท้ายในรัชกาลก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2394 การสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติน่าจะยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของ พระองค์ เพราะเมื่อพระองค์ใกล้จะเสด็จสรรรคต พระองค์ก็ยังตรัสถึงวัดต่างๆ ที่ยังสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ค้างไว้ว่า " ...ทุกวันนี้คิดสละห่วงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัด สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็ดี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทนุบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดิน มีอยู่ 40,000 ชั่ง ขอสัก 1,000 ชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วให้ช่วยบอกแก่เขาขอเงินรายนี้ให้ช่วยทนุบำรุง วัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้น เสียให้แล้วด้วย..." เมื่อเป็นเช่นนี้ วัดเฉลิมพระเกียรติที่ยังสร้างค้างอยู่น่าจะเป็นวัดหนึ่งที่พระองค์ทรง ห่วงใยด้วย ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว พระองค์ก็ทรงรับเป็นพระราชภาระในการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติจนเสร็จเรียบ ร้อย โดยโปรดให้พระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุญนาค) เป็นแม่กองการบูรณะจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2401 วัดเฉลิมพระเกียรติได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการ ศาสนา ในปี พ.ศ.2531 เป็นวัดอุทยานการศึกษากรมการศาสนา ปี พ.ศ.2538
แหล่งชุมชนคนมอญที่มีชื่อเสียงในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา และประเพณีวัฒนธรรมแบบพื้นบ้านดั้งเดิม ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจุดลูกหนู งานตักบาตรทางน้ำ เป็นต้น เกาะเกร็ด เกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 เรียกว่า "คลองลัดเกร็ดน้อย" ในจังหวัดนนทบุรี (คลองลัดเกร็ดใหญ่อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก) ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้น เซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ ชื่อเดิมเรียกว่า "เกาะศาลากุน" "เกาะเกร็ด" มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้จากวัดวาอารามต่าง ๆ บนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยา หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ โดยชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้น มีทั้งที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้ว "เกาะศาลากุน" จึงมีฐานะเป็นตำบล และเรียกว่า ตำบลเกาะเกร็ด เกาะนี้จึงมีชื่อว่า "เกาะเกร็ด" เกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2265เรียกว่าคลองลัดเกร็ดน้อยต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้นเซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ เกาะเกร็ดมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้ว่าวัดวาอารามต่างๆบนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยาได้ แต่หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญที่เข้ามามาตั้งถิ่นฐาน โดยมีพระเจดีย์มุเตาของวัดปรมัยยิกาวาส เป็นสัญลักษณ์ประจำฝั่งท่าน้ำของเกาะ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวบนเกาะเกร็ด ก็จะมีทั้งมาเดินเที่ยว ช้อปปิ้ง หาของอร่อยๆกิน บ้างก็เลือกนั่งเรือชมรอบเกาะ สินค้าที่สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์เด่นของ เกาะเกร็ดคือ เครื่องปั้นดินเผา โอ่ง กระถางเซรามิกรูปร่าง ต่างๆ ในราคาย่อมเยา มีให้เลือกซื้อเลือกหมากมาย เกาะเกร็ดยังขึ้นชื่อเรื่องอาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่อร่อย เช่น ทอดมันหน่อกะลา ดอกไม้ทอด ข้าวแช่ เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
173 lokal ang nagrerekomenda
Ko Kret
173 lokal ang nagrerekomenda
แหล่งชุมชนคนมอญที่มีชื่อเสียงในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา และประเพณีวัฒนธรรมแบบพื้นบ้านดั้งเดิม ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจุดลูกหนู งานตักบาตรทางน้ำ เป็นต้น เกาะเกร็ด เกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 เรียกว่า "คลองลัดเกร็ดน้อย" ในจังหวัดนนทบุรี (คลองลัดเกร็ดใหญ่อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก) ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้น เซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ ชื่อเดิมเรียกว่า "เกาะศาลากุน" "เกาะเกร็ด" มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้จากวัดวาอารามต่าง ๆ บนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยา หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ โดยชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้น มีทั้งที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้ว "เกาะศาลากุน" จึงมีฐานะเป็นตำบล และเรียกว่า ตำบลเกาะเกร็ด เกาะนี้จึงมีชื่อว่า "เกาะเกร็ด" เกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2265เรียกว่าคลองลัดเกร็ดน้อยต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้นเซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ เกาะเกร็ดมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้ว่าวัดวาอารามต่างๆบนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยาได้ แต่หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญที่เข้ามามาตั้งถิ่นฐาน โดยมีพระเจดีย์มุเตาของวัดปรมัยยิกาวาส เป็นสัญลักษณ์ประจำฝั่งท่าน้ำของเกาะ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวบนเกาะเกร็ด ก็จะมีทั้งมาเดินเที่ยว ช้อปปิ้ง หาของอร่อยๆกิน บ้างก็เลือกนั่งเรือชมรอบเกาะ สินค้าที่สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์เด่นของ เกาะเกร็ดคือ เครื่องปั้นดินเผา โอ่ง กระถางเซรามิกรูปร่าง ต่างๆ ในราคาย่อมเยา มีให้เลือกซื้อเลือกหมากมาย เกาะเกร็ดยังขึ้นชื่อเรื่องอาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่อร่อย เช่น ทอดมันหน่อกะลา ดอกไม้ทอด ข้าวแช่ เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
รูปแบบสถาปัตยกรรม ออกแบบดีไซน์คอนเซ็ปต์สุดล้ำระดับโลกภายใต้แนวคิด“Beyond Imagination Larger Than Life” ศูนย์รวมสุดยอดไลฟ์สไตล์อันยิ่งใหญ่ อลังการ มีทั้งศูนย์การค้า ไลฟ์สไตล์คอมเพล็กซ์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ Attraction ระดับโลก เป็นที่ที่ “ชีวิตใหญ่มาก (Have a Big Life)” ความครบครันทันสมัย ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ Super Regional Mall ที่สมบูรณ์แบบที่สุด Anchor หลักและร้านค้าจะพลิกโฉมเนรมิต ร้านคอนเซ็ปต์ใหม่ทั้งหมดในรูปแบบ Super-Size Shop ศูนย์รวมร้านค้าแบรนด์ชั้นนำทั้งไทยและอินเตอร์กว่า 500 ร้านค้า Fashion Brand ระดับโลก Dining Destination แห่งใหม่ที่รวมร้านอาหารคอนเซ็ปต์ใหม่ที่ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ สุดยอด Entertainment Complex ที่ดีที่สุดมีทั้ง Attraction ระดับโลก และโรงภาพยนตร์ ที่ทันสมัยที่สุดบนพื้นที่กว่า 23,000 ตร.ม.
47 lokal ang nagrerekomenda
CentralPlaza Westgate
199/2 Kanchanaphisek Rd
47 lokal ang nagrerekomenda
รูปแบบสถาปัตยกรรม ออกแบบดีไซน์คอนเซ็ปต์สุดล้ำระดับโลกภายใต้แนวคิด“Beyond Imagination Larger Than Life” ศูนย์รวมสุดยอดไลฟ์สไตล์อันยิ่งใหญ่ อลังการ มีทั้งศูนย์การค้า ไลฟ์สไตล์คอมเพล็กซ์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ Attraction ระดับโลก เป็นที่ที่ “ชีวิตใหญ่มาก (Have a Big Life)” ความครบครันทันสมัย ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ Super Regional Mall ที่สมบูรณ์แบบที่สุด Anchor หลักและร้านค้าจะพลิกโฉมเนรมิต ร้านคอนเซ็ปต์ใหม่ทั้งหมดในรูปแบบ Super-Size Shop ศูนย์รวมร้านค้าแบรนด์ชั้นนำทั้งไทยและอินเตอร์กว่า 500 ร้านค้า Fashion Brand ระดับโลก Dining Destination แห่งใหม่ที่รวมร้านอาหารคอนเซ็ปต์ใหม่ที่ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ สุดยอด Entertainment Complex ที่ดีที่สุดมีทั้ง Attraction ระดับโลก และโรงภาพยนตร์ ที่ทันสมัยที่สุดบนพื้นที่กว่า 23,000 ตร.ม.
ไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่และสมบูรณ์แบบมากที่สุดทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ มีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีดีไซน์ที่คำนึงถึงการออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงาน โครงการประกอบด้วยศูนย์การค้าขนาด 7 ชั้นและอาคารสำนักงานขนาด 16 ชั้น และด้วยทำเลศักยภาพแวดล้อมด้วยศูนย์ราชการและสำนักงานต่างๆ ทำให้โครงการสามารถตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี ภายในศูนย์การค้าประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โรงภาพยนตร์ ร้านค้าแฟชั่นร้านอาหาร และร้านค้าปลีกกว่า 300 ร้าน
60 lokal ang nagrerekomenda
Central Plaza Chaengwattana
Thanon Chaeng Watthana
60 lokal ang nagrerekomenda
ไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่และสมบูรณ์แบบมากที่สุดทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ มีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีดีไซน์ที่คำนึงถึงการออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงาน โครงการประกอบด้วยศูนย์การค้าขนาด 7 ชั้นและอาคารสำนักงานขนาด 16 ชั้น และด้วยทำเลศักยภาพแวดล้อมด้วยศูนย์ราชการและสำนักงานต่างๆ ทำให้โครงการสามารถตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี ภายในศูนย์การค้าประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โรงภาพยนตร์ ร้านค้าแฟชั่นร้านอาหาร และร้านค้าปลีกกว่า 300 ร้าน
ศูนย์การค้าเดอะสแควร์ ห้างหรูมีระดับที่น่าจับตามอง กับคอนเซปต์ “จตุรัสแห่งความบันเทิง” แหล่งรวบรวมอาหาร แฟชั่น และความบันเทิง อลังการใจกลางเมืองบางใหญ่ ด้วยการดีไซด์ที่สะดุดตา ด้วยงบประมาณการสร้าง กว่า 2,000 ล้านบาท บนเนื้อที่ 5,100 ตารางเมตร -ศูนย์การค้าเดอะสแควร์ มี 4 ชั้น -ชั้น 1 รวมร้านอาหารแบรนด์ดัง / ซุปเปอร์มาร์เก็ต / ลานจัดกิจกรรม -ชั้น 2 แหล่งรวมแฟชั่น / ช้อปปิ้ง / ธนาคาร / บิวตี้ -ชั้น 3 แหล่งรวมไอที ศูนย์รวมคอมพิวเตอร์ / มือถือ / เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน / พระเครื่อง -ชั้น 4 แหล่งรวมความบันเทิง โรงภาพยนตร์ SF / ลานโรลเบลด / โซนเกมส์ / ศูนย์อาหาร
ห้างเดอะสแควร์บางใหญ่นนทบุรี
ศูนย์การค้าเดอะสแควร์ ห้างหรูมีระดับที่น่าจับตามอง กับคอนเซปต์ “จตุรัสแห่งความบันเทิง” แหล่งรวบรวมอาหาร แฟชั่น และความบันเทิง อลังการใจกลางเมืองบางใหญ่ ด้วยการดีไซด์ที่สะดุดตา ด้วยงบประมาณการสร้าง กว่า 2,000 ล้านบาท บนเนื้อที่ 5,100 ตารางเมตร -ศูนย์การค้าเดอะสแควร์ มี 4 ชั้น -ชั้น 1 รวมร้านอาหารแบรนด์ดัง / ซุปเปอร์มาร์เก็ต / ลานจัดกิจกรรม -ชั้น 2 แหล่งรวมแฟชั่น / ช้อปปิ้ง / ธนาคาร / บิวตี้ -ชั้น 3 แหล่งรวมไอที ศูนย์รวมคอมพิวเตอร์ / มือถือ / เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน / พระเครื่อง -ชั้น 4 แหล่งรวมความบันเทิง โรงภาพยนตร์ SF / ลานโรลเบลด / โซนเกมส์ / ศูนย์อาหาร
เดอะมอลล์ กรุ๊ป ปรับโฉมใหม่ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ชั้น 4, 5 ให้เป็น THE MALL LIFESTORE: A HAPPY PLACE TO LIVE LIFE ภายใต้คอนเซปต์ “Live New Life” ชีวิตโหมดใหม่ สายไหนก็อิน ออกแบบพื้นที่ให้เชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตคนเมือง เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ความสุขของคนยุคใหม่ THE MALL LIFESTORE: A HAPPY PLACE TO LIVE LIFE เนรมิตชั้น 6 และชั้น 7 ภายใต้คอนเซปต์ Life - Play - Park
61 lokal ang nagrerekomenda
The Mall Ngamwongwan
61 lokal ang nagrerekomenda
เดอะมอลล์ กรุ๊ป ปรับโฉมใหม่ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ชั้น 4, 5 ให้เป็น THE MALL LIFESTORE: A HAPPY PLACE TO LIVE LIFE ภายใต้คอนเซปต์ “Live New Life” ชีวิตโหมดใหม่ สายไหนก็อิน ออกแบบพื้นที่ให้เชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตคนเมือง เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ความสุขของคนยุคใหม่ THE MALL LIFESTORE: A HAPPY PLACE TO LIVE LIFE เนรมิตชั้น 6 และชั้น 7 ภายใต้คอนเซปต์ Life - Play - Park
ห้างสรรพสินค้า ขายสินค้าอุปโภค บริโภค มีร้านอาหารชั้นนำ และศูนย์อาหาร
Big C - Tiwanon
Tiwanon Road
ห้างสรรพสินค้า ขายสินค้าอุปโภค บริโภค มีร้านอาหารชั้นนำ และศูนย์อาหาร

อาหาร

อาหารคาว อาหารหวาน ทุกแนว หลากสไตล์ แสนอร่อย
ตลาดนกฮูก เป็นตลาดนัดกลางคืน เรียกได้ว่าเปิดข้ามวันกันเลย ที่นี่แบ่งออกเป็น 2 โซน คือ โซนคลองถม โดยขายของทั้งมือ 1 และมือ 2 เปิดขายทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.00 (เย็น) – 10.00 น. (เช้า) และตลาดโต้รุ่ง และรถฟู๊ดทรัก ขายอาหารคาว หวาน มากมาย เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 15.00 – 24.00 น.
22 lokal ang nagrerekomenda
Owl Market
87 ถนน เลี่ยงเมือง
22 lokal ang nagrerekomenda
ตลาดนกฮูก เป็นตลาดนัดกลางคืน เรียกได้ว่าเปิดข้ามวันกันเลย ที่นี่แบ่งออกเป็น 2 โซน คือ โซนคลองถม โดยขายของทั้งมือ 1 และมือ 2 เปิดขายทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.00 (เย็น) – 10.00 น. (เช้า) และตลาดโต้รุ่ง และรถฟู๊ดทรัก ขายอาหารคาว หวาน มากมาย เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 15.00 – 24.00 น.
“วัดตะเคียน” จังหวัดนนทบุรี มี “ตลาดน้ำวัดตะเคียน” อยู่ริมคลอง เป็นแหล่งกิน แหล่งช้อป ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในเมืองนนท์ วัดตะเคียนนั้นก็เป็นวัดที่เก่าแก่ มีอายุนับร้อยปี คาดว่าสร้างมาก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แต่วัดแห่งนี้ก็มีภิกษุมาจำพรรษาบ้างร้างบ้างสลับกันไป จนมาถึงสมัยหลวงปู่แย้ม มาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้พัฒนาวัดให้เจริญเรื่อยมาจนปัจจุบัน เมื่อมาถึงวัดตะเคียนแล้วก็ไม่ควรพลาดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9 สิ่งภายในวัด สิ่งแรกได้แก่ “พระอุโบสถหลังเก่า” คาดว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่ภายใน สิ่งศักดิ์สิ่งที่ 2 คือ “พระอุโบสถ” ซึ่งสร้างขึ้นมาใหม่ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโคดม 3 คือ “การลอดใต้โบสถ์” ซึ่งเชื่อกันว่าโบสถ์เป็นสิ่งที่สะอาด บริสุทธิ์ การลอดสถานที่ หรือสิ่งศักดิ์สิทธ์ เพื่อล้างอาถรรพณ์และความเป็นสิริมงคลนี้ เป็นคติความเชื่ออย่างหนึ่งของคนไทยมาตั้งแต่อดีต พิธีลอดใต้โบสถ์นั้นก็โดยการตั้งจิตอธิษฐานแล้วสวดมนต์เวียนใต้โบสถ์ 3 รอบ เพื่อความเป็นมงคลในชีวิต โดยทางเข้าด้านซ้ายมือซึ่งจะสร้างทางเข้าเป็นรูปหัวเสือขนาดใหญ่ ส่วนทางออกสร้างเป็นรูปมังกรขนาดใหญ่ โดยมีความเชื่อมาจากหลักฮวงจุ้ยว่าเข้าทางหัวเสือคือความชั่วร้ายทั้งปวงให้ขจัดปัดเป่าทิ้งไป ส่วนทางออกมังกรเป็นสัตว์ชั้นสูงตามความเชื่อจีน ทำให้จิตใจบริสุทธิ์มีแต่สิ่งดีงาม 4 คือ “มณฑปหลวงปู่แย้ม” โดยสร้างเป็นรูปเคารพหลวงปู่แย้มเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันไว้ให้ผู้คนกราบไหว้ ข้างๆกัน คือ “ศาลเจ้าแม่ประกายทองประกายมาศ” ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัดตะเคียนแห่งนี้ ซึ่งชาวบ้านนิยมมาขอหวยแล้วบนด้วยเครื่องแต่งกายชุดไทย ถัดไปได้แก่ “หลวงพ่อธรรมจักร” เป็นพระยืนประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงพ่อธรรมจักร โดยชาวบ้านเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากจึงนิยมมาขอพรต่างๆ 7 ได้แก่ การทำพิธีถวายสังฆทาน นอนโลง ต่อชะตา ต่อไปย้ายไปทางด้านหน้าวัดจะมี “ต้นตะเคียน” ซึ่งมีความเก่าแก่อายุนับร้อยปีที่เหลืออยู่เพียงต้นเดียว และสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งที่ 9 คือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระเก่าแก่ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านนอกวัดวัดเช่นกัน ในสมัยก่อนนิยมมาบนบานสานกล่าวกันด้วยการแก้ผ้ากระโดดน้ำลงคลองด้านหน้าวัด
6 lokal ang nagrerekomenda
Wat Takien
86 ถนน ทางหลวงชนบท นนทบุรี 3085
6 lokal ang nagrerekomenda
“วัดตะเคียน” จังหวัดนนทบุรี มี “ตลาดน้ำวัดตะเคียน” อยู่ริมคลอง เป็นแหล่งกิน แหล่งช้อป ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในเมืองนนท์ วัดตะเคียนนั้นก็เป็นวัดที่เก่าแก่ มีอายุนับร้อยปี คาดว่าสร้างมาก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แต่วัดแห่งนี้ก็มีภิกษุมาจำพรรษาบ้างร้างบ้างสลับกันไป จนมาถึงสมัยหลวงปู่แย้ม มาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้พัฒนาวัดให้เจริญเรื่อยมาจนปัจจุบัน เมื่อมาถึงวัดตะเคียนแล้วก็ไม่ควรพลาดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9 สิ่งภายในวัด สิ่งแรกได้แก่ “พระอุโบสถหลังเก่า” คาดว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่ภายใน สิ่งศักดิ์สิ่งที่ 2 คือ “พระอุโบสถ” ซึ่งสร้างขึ้นมาใหม่ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโคดม 3 คือ “การลอดใต้โบสถ์” ซึ่งเชื่อกันว่าโบสถ์เป็นสิ่งที่สะอาด บริสุทธิ์ การลอดสถานที่ หรือสิ่งศักดิ์สิทธ์ เพื่อล้างอาถรรพณ์และความเป็นสิริมงคลนี้ เป็นคติความเชื่ออย่างหนึ่งของคนไทยมาตั้งแต่อดีต พิธีลอดใต้โบสถ์นั้นก็โดยการตั้งจิตอธิษฐานแล้วสวดมนต์เวียนใต้โบสถ์ 3 รอบ เพื่อความเป็นมงคลในชีวิต โดยทางเข้าด้านซ้ายมือซึ่งจะสร้างทางเข้าเป็นรูปหัวเสือขนาดใหญ่ ส่วนทางออกสร้างเป็นรูปมังกรขนาดใหญ่ โดยมีความเชื่อมาจากหลักฮวงจุ้ยว่าเข้าทางหัวเสือคือความชั่วร้ายทั้งปวงให้ขจัดปัดเป่าทิ้งไป ส่วนทางออกมังกรเป็นสัตว์ชั้นสูงตามความเชื่อจีน ทำให้จิตใจบริสุทธิ์มีแต่สิ่งดีงาม 4 คือ “มณฑปหลวงปู่แย้ม” โดยสร้างเป็นรูปเคารพหลวงปู่แย้มเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันไว้ให้ผู้คนกราบไหว้ ข้างๆกัน คือ “ศาลเจ้าแม่ประกายทองประกายมาศ” ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัดตะเคียนแห่งนี้ ซึ่งชาวบ้านนิยมมาขอหวยแล้วบนด้วยเครื่องแต่งกายชุดไทย ถัดไปได้แก่ “หลวงพ่อธรรมจักร” เป็นพระยืนประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงพ่อธรรมจักร โดยชาวบ้านเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากจึงนิยมมาขอพรต่างๆ 7 ได้แก่ การทำพิธีถวายสังฆทาน นอนโลง ต่อชะตา ต่อไปย้ายไปทางด้านหน้าวัดจะมี “ต้นตะเคียน” ซึ่งมีความเก่าแก่อายุนับร้อยปีที่เหลืออยู่เพียงต้นเดียว และสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งที่ 9 คือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระเก่าแก่ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านนอกวัดวัดเช่นกัน ในสมัยก่อนนิยมมาบนบานสานกล่าวกันด้วยการแก้ผ้ากระโดดน้ำลงคลองด้านหน้าวัด
ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงข้ามเกาะเกร็ด บริเวณริมน้ำหน้าวัดเป็นที่พักผ่อนให้อาหารปลา ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเวลา 9.30 - 14.30 น. มีการจัดตลาดริมน้ำจำหน่ายสินค้าอาหารมากมายจากกลุ่มแม่บ้าน รวมทั้งบริการล่องเรือไหว้พระริมแม่น้ำรอบเกาะเกร็ด เป็นวัดที่สร้างราว พ.ศ. 1963 เดิมชื่อว่า “วัดน้อย” เนื่องจากตั้งอยู่ริมคลองบางน้อย ต่อมาได้ย้ายมาตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดใหญ่ยิ่ง” เมื่อปี พ.ศ. 2463 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักชั่วคราวที่ข้าหลวงประจำจังหวัดสร้างถวาย เสด็จประทับอยู่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 เป็นเวลา 17 วัน เนื่องด้วยพระองค์พอพระทัยในพระตำหนักที่พัก ทรงมีพระอารมณ์ผ่องใสพร้อมทั้งสุขภาพและพลานามัยดีขึ้น จึงได้ขนานนามวัดให้ใหม่ว่า “วัดใหญ่สว่างอารมณ์” วัดใหญ่สว่างอารมณ์ มีบริเวณกว้างขวาง มีอุโบสถซึ่งประดิษฐานพระประธานปางสมาธิหน้าตักกว้าง 4 ศอก สมัยสุโขทัย ทำด้วยศิลาแลง ซึ่งเป็นที่สักการะของประชาชน
Wat Yai Sawang Arom Riverside Market
ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงข้ามเกาะเกร็ด บริเวณริมน้ำหน้าวัดเป็นที่พักผ่อนให้อาหารปลา ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเวลา 9.30 - 14.30 น. มีการจัดตลาดริมน้ำจำหน่ายสินค้าอาหารมากมายจากกลุ่มแม่บ้าน รวมทั้งบริการล่องเรือไหว้พระริมแม่น้ำรอบเกาะเกร็ด เป็นวัดที่สร้างราว พ.ศ. 1963 เดิมชื่อว่า “วัดน้อย” เนื่องจากตั้งอยู่ริมคลองบางน้อย ต่อมาได้ย้ายมาตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดใหญ่ยิ่ง” เมื่อปี พ.ศ. 2463 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักชั่วคราวที่ข้าหลวงประจำจังหวัดสร้างถวาย เสด็จประทับอยู่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 เป็นเวลา 17 วัน เนื่องด้วยพระองค์พอพระทัยในพระตำหนักที่พัก ทรงมีพระอารมณ์ผ่องใสพร้อมทั้งสุขภาพและพลานามัยดีขึ้น จึงได้ขนานนามวัดให้ใหม่ว่า “วัดใหญ่สว่างอารมณ์” วัดใหญ่สว่างอารมณ์ มีบริเวณกว้างขวาง มีอุโบสถซึ่งประดิษฐานพระประธานปางสมาธิหน้าตักกว้าง 4 ศอก สมัยสุโขทัย ทำด้วยศิลาแลง ซึ่งเป็นที่สักการะของประชาชน